เมืองโบราณ มีความเป็นมาอย่างไร และมีมาตั้งแต่ยุคใดบ้าง
เมืองโบราณ ในที่นี้หมายความว่า การนำสถานที่โบราณต่าง ๆ มาสร้างขึ้นใหม่แต่เป็นการย่อส่วนลงมาให้เหมาะสม สร้างในเนื้อที่ประมาณ 800 ไร่ เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และเริ่มประสบความสำเร็จเอาเมื่อ พ.ศ. 2508 โดยคุณเล็ก วิริยะพันธ์ ท่านเป็นนักธุรกิจใหญ่ในอดีต ที่ตั้งใจจะคืนกำไรให้สังคมด้วยการสร้างเมืองโบราณนี้ขึ้นมาให้เป็นมรดกของชาติอย่างแท้จริง
เมืองโบราณเริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมา และได้จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่มีผู้นิยมไปเที่ยวกันมากขึ้นตามลำดับ เป็นสถานที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ ฯ นับว่าผู้สร้างได้สร้างได้อย่างวิจิตรมากและมีสถานที่ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ใครที่ไปมาแล้วถ้าได้ไปอีกจะไม่ขาดทุนเลยเพราะจะได้เห็นสถานที่ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกนั่นเอง
เมืองโบราณเริ่มจากที่ดินประมาณ 500 ไร่ ฝั่งซ้ายของถนนสุขุมวิทสายเก่าที่จะมุ่งหน้าไป อ.บางปะกง เป็นที่น่าเก่าที่ไม่สามารถทำนาได้แล้วเนื่องจากน้ำทะเลทะลักเข้ามาจนทำให้ดินเค็ม ชาวนาจึงทิ้งถิ่นคุณเล็กจึงได้เสนอขอซื้อจากเจ้าของเดิมทำให้มีที่ดินเพิ่มขึ้นเป็นแปลงใหญ่ จึงได้เริ่มงานก่อสร้างเมืองโบราณขึ้นมา และได้จำลองสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศมาไว้ที่นี่ เช่น ปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเขาพระวิหาร และสถานที่สำคัญ ๆ อื่นอีกมากมาย
เมืองโบราณได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของไทยอีกสถานที่หนึ่ง การเข้าชมต้องเสียค่าบัตรผ่านประตูคนละ 100 บาท หากจะนำรถเข้าไปด้วยก็เสียอีกคันละ 50 บาท ซึ่งก็นับว่าไม่แพงเลย
เมื่อซื้อบัตรผ่านประตูแล้ว จะมีคู่มือให้เข้าชมด้วย รวมทั้งแผนที่สังเขป ของสถานที่ที่จะเข้าชม การวางผังของเมืองโบราณเพื่อก่อสร้างสถานที่จำลองนั้น บางแห่งก็มีขนาดใหญ่เกือบ ๆ เท่าของจริง เช่น เรือสำเภาไทยที่กำลังลอยลำอยู่ จำนวนสถานที่จำลองที่นำมาก่อสร้างไว้นับถึง พ.ศ. 2549 จะมีอยู่ด้วยกัน 116 แห่ง และที่กำลังก่อสร้างอีกศซึ่งก็บอกแล้วว่าใครที่ได้ไปมาแล้วจะไม่ขาดทุนเมื่อไปใหม่เพราะมีสถานที่ใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกปีก็ต้องขอชื่นชมแนวคิดของท่านผู้ก่อกำเนิดสถานที่แห่งนี้ด้วยความจริงใจ
การเข้าชมเมืองโบราณควรต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 วันเต็ม ๆ จึงจะดูได้ครบถ้วนทั้งสถานที่ และบริเวณด้านในอาคาร แต่ก็เป็นเพียงบางแห่งเท่านั้น ถ้าจะให้ครบจริง ๆ คงต้องใช้เวลานานกว่านี้ ภายในพื้นที่มีร้านอาหารที่อร่อยมากอยู่ร้านหนึ่ง ราคาย่อมเยาไม่แพงมากไม่ต้องออกมากินข้างนอก ให้เสียค่าเข้าอีก
ได้กล่าวแล้วว่าที่เมืองโบราณนี้ได้จำลองสถานที่สำคัญมาอยู่ในที่เดียวกันหลายแห่ง จะขอพูดเฉพาะแห่งที่สำคัญ ๆ เท่านั้น เมื่อผ่านประตูทางเข้ามาแล้ว จะเห็นพระแท่นที่ประทับที่สร้างขึ้นตามแบบปราสาทสมัยสุโขทัย มีศาลาไทยหลังเล็ก ๆ อยู่บนพระแท่นนี้ เพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานพระพรหม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองโบราณ
ต่อมาเป็นศาลาหน้าเมือง ก็เป็นประเพณีนิยมของคนไทยที่ต้องสร้างไว้นอกเมือง เพื่อให้คนที่เดินทางผ่านได้สักการบูชา หรือพักรอเวลาที่จะเข้าเมือง สร้างจำลองไว้จากสถานที่จริงจาก อ.เมืองนครศรีธรรมราช ที่เรียกว่าศาลาประดู่หก เมื่อผ่านเข้ามาแล้วจะเป็นประตูจำลองที่สร้างล้อมาจากซุ้มประตูล้อมประปรางค์ของ วัดพระศรีมหธาตุเชลียง
เมืองสวรรคโลก ที่ของจริงสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นการสร้างด้วยศิลาแลงทั้งหมด เมื่อผ่านประตูเมืองก็เฉกเช่นได้ผ่านเข้ามาในประเทศไทย ทางภาคใต้ จะได้เห็นสวนมโนราห์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเทวรูปปัลลวะ ได้แก่เทวรูปพระวิษณุ พระศิวะ พระลักษมี ที่สร้างด้วยศิลาแลง เป็นฝีมือของช่างอินเดีย
ในพุทธศตวรรษที่ 13-14 เทวรูป 3 องค์นี้แต่เดิมมีการล้อมด้วยรากไม้ เมื่อ ร.๖ เสด็จประพาสสมัยที่ยังทรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช ทอดพระเนตรเห็นโผล่มาแต่พระพักตร์ โดยไม่มีใครทราบว่าเป็นอะไรอยู่ที่ไหนมาก่อน จึงนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน
พระบรมธาติไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นโบราณสถานชิ้นสุดท้ายชองภาคใต้ ต่อมาก็เป็นตลาดโบราณ หรือที่เรียกว่าตลาดบก เป็นการจัดร้านแผงลอยแบบโบราณ มีร้านกาแฟที่หาที่ไหนไม่ได้ ที่น่าจะทันสมัยที่สุดได้แก่ที่ตลาดไหม่ แต่ก็มีอายุร้อยปีได้แล้วที่ฉะเชิงเทรา เป็นร้านทีมีสินค้าขายจริง ๆ ตั้งอยู่ที่บริเวณจัดไว้ไม่ให้มีรถวิ่งให้แลดูเหมือนโบราณจริง ๆ
ที่จำลองมาจากของจริงที่เมืองตาก และสภาพบ้านเรือนที่กำแพงเพชร มีถนนสายเล็ก ๆ พอเดินได้พอให้เห็นเป็นเมืองโบราณจริง ๆ สถานที่ต่อมาเป็นศาลาการเปรียญของวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี มีหอพระไตรปิฎก และหอระฆังให้ชม พระปรางค์วักพระศรีมหาธาตุ ราชบุรี และกลุ่มสถาปัตยกรรมแบบจีน ท้องพระโรงกรุงธนบุรี
พระพุทธรูปสมัยทวาราวดี ซึ่งของจริงนั้นมี 4 องค์เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งห้องพระบาทอยู่ในพระอุโบสถ และที่ลานด้านนอกทางทิศเหนืออีกองค์หนึ่ง ต่อมาอีกนิดหนึ่งเป็นเรือนทับขวัญที่นครปฐม คุ้มขุนช้างจากอยุธยา อนุสรณ์สถานยุทธหัตถีที่สุพรรณบุรี ด่านเจดีย์ 3 องค์ แล้วก็จะเป็นสถานที่สำคัญของกรุงเทพ ฯ บ้างเริ่มตั้งแต่พระที่นั่งสำคัญ ๆ
เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นปราสาททรงจัตุรมุข สร้างได้สูงใหญ่เทียบเท่าของจริง เป็นปราสาททรงไทยแท้ ที่เหลือให้เป็นอยู่เพียงแห่งเดียว ร. ๓ โปรดให้บูรณะขึ้นมาใหม่ วิหารพระศรีสรรเพชร อยู่ที่วัดในวังสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันเหลือแต่ซากเพราะถูกทำลายสมัยเสียกรุง พระที่นั่งสรรเพชรปราสาท เป็นพระที่นั่งโบราณ
สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ถูกพม่าเผาทิ้งในคราวเดียวกัน เมืองโบราณก็ได้ทำจำลองเอาไว้โดยยึดตามแบบดั่งเดิมไว้ให้มากที่สุด จากหลักฐานเท่าที่จะหาได้ ได้กล่าวแล้วว่าในเมืองโบราณนี้มีการจำลองสถานที่สำคัญไว้มากถึง 116 แห่ง มีทั้งขบวนเสด็จพยุหายาตราทางชลมารค ที่ได้จำลองมาไว้ในสระน้ำขนาดใหญ่
ที่สมมุติว่าเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ ๆ กันนั้นก็มีเรือสำเภาไทยที่ได้จำลองมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ และยังมีเรือนานาชาติที่เป็นขบวนเรือสินค้า และยังมีเรือไทยที่นำสินค้าไปขายยังโพ้นทะเลอีกด้วย เรือทุกลำน่าจะมีขนาดใหญ่เท่า ๆ ของจริง เรือสำเภาจำลองที่ลงน้ำไม่ได้ก็เห็นอีกแห่งหนึ่งก็ที่วัดยานนาวา
อีกลำก็อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ จันทรบุรี ซึ่งเป็นเรือสินค้าของไทย นอกนั้นก็จะเป็นสถานที่สำคัญ เช่น ตลาดน้ำ ร้านขายของโบราณที่ลำปางและร้ายอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เท่านี้ก็หมดเวลาไปแล้ว 1 วัน ก็ได้บอกแล้วว่าถ้าจะชมกันให้ละเอียดก็ต้องใช้เวลาให้มากกว่านี้ เอาเป็นว่าถ้ามีโอกาสก็จะได้กลับมาชมกันใหม่